Welcome to my blog Thai ♥ I'm Panwadee Klintip No.29 M.4/6▲

หมี

หิมะ

Read more: http://nanfufu.blogspot.com/2012/05/blog-post_7965.html#ixzz3xlYkYJIl

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

เนื้อเพลงเปิบข้าว

เนื้อเพลงเปิบข้าว

                 เปิบข้าวทุกคราวคำ     จงสูจำเป็นอาจิณ
      เหงื่อกูที่สูกิน           จึงก่อเกิดมาเป็นคน
               ข้าวนี้นะมีรส             ให้ชนชิมทุกชั้นชน
            เบื้องหลังสิทุกข์ทน     และขมขื่นจนเขียวคาว
                                                         จากแรงมาเป็นรวง      ระยะทางนั้นเหยียดยาว                                   
                    จากรวงเป็นเม็ดพราว   ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                         เหงื่อหยดสักกี่หยาด    ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
        ปูดโปนกี่เส้นเอ็น        จึงแปรรวงมาเป็นกิน
                  น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง        และน้ำแรงอันหลั่งริ
    สายเลือด กู ทั้งสิ้น       ที่สูซดกำซาบฟัน

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


ทุกข์ของชาวนาในบทกวี



ผู้แต่ง
                      
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 

ประวัติผู้แต่ง
                      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498  พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น

จุดมุ่งหมายในการแต่ง
                   
เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา

ลักษณะคำประพันธ์                                                                    
                     
ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ

ความเป็นมา
               
       ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41  พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนาซึ่งมีสภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างกันนัก


เรื่องย่อ
                      เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ- สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์ ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
                      ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่า มิได้มีความแตกต่างกัน แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือ  ชาวนาเท่าที่ควร  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ  ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร  ภูมิศักดิ์ และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอบทกวีที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองท่าน มีแนวความคิดที่คล้ายกัน คือมุ่งที่จะกล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนาและทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกันเลย                                    
                     
ข้อคิดที่ได้รับ  
                      
1. ทำให้เข้าใจความรู้สึกของชาวนาที่ต้องประสบปัญหาต่างๆ
                      2. ทำให้ได้รู้ถึงความทุกข์ยากความลำบากของชาวนาในการปลูกข้าว
                      3. ทำให้ได้เห็นถึงคุณค่าของข้าวที่ได้รับประทานเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์

คำศัพท์
กำซาบ
ซึมเข้าไป
เขียวคาว
สีเขียวของข้าว  ซึ่งน่าจะหอมสดชื่นกลับมีกลิ่นเหม็นคาว  เพราะข้าวนี้                   เกิดจากหยาดเหงื่อ  ซึ่งแสดงถึงความทุกข์ยากและความชมชื่นของชาวนา
จำนำพืชผลเกษตร
การนำผลผลิตทางการเกษตร  เช่น  ข้าวไปฝากกับหน่วยงานที่รับฝากไว้ก่อนเพื่อเอาเงินในอนาคตมาใช้ก่อน
ฎีกา
คำร้องทุกข์  การร้องทุกข์
ธัญพืช
มาจากภาษาบาลีว่า  ธัญพืช  เช่น  ข้าว  ข้าวสาลี  ข้าวโพด  ที่ให้เมล็ด                        เป็นอาหารหลัก
นิสิต
ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย
ประกันราคา
การที่รัฐ  เอกชน  หรือองค์กรต่าง ๆ รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคา             ที่กำหนดไว้ในอนาคต  ไม่ว่าราคาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
เปิบ
หรือ  เปิบข้าว  หมายถึง  วิธีการใช้ปลายนิ้วขยุ้มข้าวใส่ปากตนเอง
พืชเศรษฐกิจ
พืชที่สามารถขายได้ราคาดี  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย  ปาล์มน้ำมัน
ภาคบริการ
อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น  เช่น  พนักงานในร้านอาหาร  ช่างเสริมสวย
วรรณศิลป์
ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ

 ความรู้เพิ่มเติม                      บทความ หมายถึง รูปแบบการเขียนประเภทหนึ่ง ที่ผู้เขียนต้องการสื่อสาร ข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้อ่าน โดยเนื้อหานำเสนอจากข้อเท็จจริง ไม่ใช่เรื่องแต่งหรือคิดขึ้นเองจากจินตนาการ  บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป จะมีเนื้อหาหลายลักษณะ เช่น หยิบยกปัญหา เหตุการณ์ หรือเรื่องที่ประชาชนสนใจมาแสดงความคิดเห็น หรือผู้เขียนเสนอความคิดเห็นสนับสนุนหรือคัดค้านหรือทั้งสนับสนุนและคัดค้านความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันของคนอื่นๆ เป็นต้น

วิเคราะห์วิจารณ์
                      การแต่งทุกข์ของชาวนาในบทกวีนับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็น-แบบอย่างได้  ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน เนื้อเรื่องวิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวี ของจิตร ภูมิศักดิ์  และองหลี่เชิน  โดย ทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ  สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิง วรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน โดยทรงใช้
การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีนว่า เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน
คือหลี่เชินบรรยายภาพที่เห็น เหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง

สรุป
                      พระราชนิพนธ์เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  แสดงให้เห็นถึงความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย  ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตา อันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก  เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ  ทำงานแบบหลังสู้ฟ้า  หน้าสู้ดิน  ตลอดทั้งปี  ดังนั้นในฐานะผู้บริโภค  จึงควรสำนึกในคุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูกข้าวอันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของคนไทย


 แผนผังมโนทัศน์